City of Coral Spring จากมติชน

City of Coral Spring

คอลัมน์ รู้เขารู้เรา

โดย ศีล มติธรรม


Miss Christine C. Heflin

วัน
ก่อนสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เชิญไปร่วมสัมภาษณ์พิเศษ "Miss Christine
C. Heflin" เจ้าหน้าที่ประสานงานพัฒนาระบบคุณภาพองค์กร ของ City of Coral
Spring เมือง Broward มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในฐานะเป็นทีมงานบุกเบิกองค์กรแห่งนี้จนเป็นที่ยอมรับ
กระทั่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกที่พิชิตรางวัล Malcolm Baldrige
National Quality Award ปีที่แล้ว
อันเป็นรางวัลเกียรติยศของประธานาธิบดีที่มอบให้กับองค์กรในสหรัฐที่มีผลการ
ดำเนินงานยอดเยี่ยมที่สุด

City of Coral Spring มีพลเมือง 132,000
คน มีสภาเทศบาลเมืองที่มีการบริหารงานในรูปแบบ council-manager form
สภาเทศบาลเมืองประกอบไปด้วยคณะกรรมการผู้บริหาร และเทศมนตรี
ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารสูงสุด

หลักการดำเนินงานสำคัญๆ
ที่ทำให้องค์กรนี้ได้รับรางวัลดังกล่าว คือมุ่งให้ความเอาใจใส่ในตัวลูกค้า
ผู้ใช้บริการ และดำเนินงานโดยการใช้สารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน

มาดู
กันว่าที่นี่เขาทำอะไรกันบ้าง ประการแรก มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
เห็นได้จากความกระตือรือร้นในการให้บริการลูกค้า
ดังเช่นที่คุณเฮฟลีนยกตัวอย่างให้ฟัง คือ
ถ้าประชาชนโทรศัพท์มาต้องรีบรับสายทันที
พนักงานทำงานกันด้วยความรู้สึกสนุกสนาน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
เวลาพูดคุยก็มองหน้าลูกค้า

2.มอบอำนาจให้กับพนักงาน
โดยอนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าไปดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการ
ปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของคุณภาพและการบริการ

3.ความเป็นผู้นำ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดรัฐบาลท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นและใช้ต้นทุนการทำงานที่น้อยลง

4.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยให้คำมั่นสัญญากับประชาชนที่จะทำทุกอย่างดียิ่งขึ้นทุกวันและทุกวิถีทาง

มองจากสายตาคนภายนอกอาจจะเห็นว่าการดำเนินงานเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ในองค์กรจะต้องมีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วที่นี่เขาจัดการกันอย่างไร

คุณ
เฮฟลีนเล่าว่า ความจริงความคิดในการปรับปรุงองค์กรเริ่มมีมากว่า 10 ปีแล้ว
ซึ่งเกณฑ์ของ Baldrige เป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา และผู้บริหารใน City
of Coral Spring ต่างเห็นตรงกันว่า
เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเพระามีการบูรณาการ บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
ในสหรัฐก็ทำตามเกณฑ์นี้และประสบผลสำเร็จกันมามากแล้ว อย่างเช่นโมโตโรลล่า

จุด
เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงก่อนอื่นก็ต้องเลือกคนที่มีศักยภาพที่จะขยาย
แนวคิดนี้ให้กว้างออกไป สร้างแนวร่วมในทุกระดับขององค์กร
มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน และใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารที่ดี อาทิ
ทำเอกสารเผยแพร่เรื่องราวของบริษัทองค์กรต่างๆ
ที่ใช้เกณฑ์นี้แล้วประสบความสำเร็จ เพื่อตอกย้ำให้เกิดความเชื่อมั่น
และเมื่อสร้างความเข้าใจเรียบร้อยแล้วก็วางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
โดยเชิญนักวิชาการมาร่วมสัมมนาวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
ที่สำคัญต้องใช้ข้อมูลจริงมาทำแผน พร้อมกับวางเป้าหมาย
ทั้งนี้ต้องเป็นแผนในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลและปรับปรุงแผน
รวมทั้งดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประชาชนพอใจที่สุด

เป็นธรรม
ดาที่ทุกองค์กรต้องมีพวกอนุรักษนิยมที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร
คุณเฮฟลีนเธอมองว่า คนเหล่านี้ก็มีส่วนดีเหมือนกันคือเป็นคนอดทน
ซึ่งต้องอธิบายให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาพอสมควรถึงจะเห็นผล
ขณะที่ประชาชนก็มองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบฯเปล่าๆ
ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการสื่อสารให้เข้าใจ และต้องสร้างผลงานใหม่ๆ
ให้เกิดขึ้นด้วย อย่างเช่นมีโรงเรียนใหม่

หัวใจสำคัญของการทำตาม
เกณฑ์ Baldrige ให้ประสบความสำเร็จนั้น
ต้องทำงานกันเป็นทีมช่วยกันคิดช่วยกันแก้ และใช้วิธีการจูงใจ
เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด อย่างเช่น ให้เงินเดือนขึ้น ให้รางวัลต่างๆ
มีคูปอง มีการแจกเสื้อเชิ้ต จัดงานฉลอง และแจก "Applause Cards"
ซึ่งเป็นบัตรที่ให้แก่พนักงานที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานอย่าง
เต็มที่
ถือเป็นการให้รางวัลพิเศษแก่พนักงานที่ทำงานได้ดีเหนือกว่าหน้าที่ของตนเอง

วิธีการ
จูงใจเหล่านี้น่าสนใจยิ่งนัก เพราะไม่ได้ใช้งบประมาณสิ้นเปลืองอะไร
แต่เป็นการตอบแทนน้ำใจ
และให้ผู้คนในสังคมได้รับทราบถึงความดีงามของคนคนนั้น

มาว่าถึงปัญหา
โลกร้อนกันบ้าง ทาง City of Coral ใช้กลยุทธ์ต่างๆ มากมาย
และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสองชุด
ชุดแรกในระดับพนักงานเน้นความเป็นสีเขียว เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ
อย่างเช่นใช้กระดาษให้คุ้มค่าสองหน้า
ส่วนคณะกรรมการอีกชุดก็ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ

ส่วน
คำแนะนำสำหรับหน่วยงานองค์กรภาครัฐของไทย คุณเฮฟลีน ฟันธงว่า
"ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้เลย โดยจะต้องใช้ข้อมูลในการวางแผน
และต้องทำอย่างต่อเนื่องแม้จะล้มเหลวในช่วงแรกๆ ก็ตาม
เพราะข้อเสียของการใช้เกณฑ์ Baldrige
คือต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ และต้องค้นหาคำตอบเอง
โดยอาศัยศักยภาพและความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรอย่างเต็มที่ ทั้งนี้
องค์กรของไทยต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม โดยใช้ความอดทนเป็นหลัก"

เชื่อ
ว่าหลักการบริหารจัดการดีๆ แบบนี้
ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งของไทยก็คงใช้กันอยู่บ้างแล้ว
แต่อาจจะยังไม่กว้างขวางนัก ชอบใจตรงคำแนะนำของคุณเฮฟลีนที่ว่า
องค์กรไทยต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
ซึ่งคงต้องใช้เวลาปลูกฝังวัฒนธรรมในเรื่องนี้กันอีกนานพอสมควรทีเดียว

แฟลตที่พักผมครับ

Posted by ShoZu