ดูโฟลเดอร์แบบออนไลน์ของฉัน

sompobe
อนุญาตให้คุณใช้โฟลเดอร์แบบออนไลน์นี้ร่วมกันได้ใน Windows Live SkyDrive

 



ดูโฟลเดอร์

 

sompobe_share


ดูไฟล์ในโฟลเดอร์แบบออนไลน์ "sompobe_share" ของฉันใน Windows Live SkyDrive

Windows Live SkyDrive คืออะไร
โฟลเดอร์ใน Windows Live SkyDrive ทำงานเหมือนกับโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่โฟลเดอร์เหล่านั้นถูกจัดเก็บแบบออนไลน์เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ อีกทั้ง ฉันยังสามารถใช้โฟลเดอร์ (ดังเช่นโฟลเดอร์นี้) ร่วมกับบุคคลที่ฉันเลือก (ในกรณีนี้หมายถึงคุณ!)
สร้าง Windows Live SkyDrive ของคุณเองทันที ฟรี!

มีปัญหาในการใช้งานลิงก์ใช่หรือไม่ ลองคัดลอกและวางลิงก์นี้ลงในเบราว์เซอร์ของคุณ:
http://cid-a7127243945c2f85.skydrive.live.com/accept.aspx/sompobe|_share?owner=sompobe%2540msn.com&invitee=sompobe.s2008%2540spaces.live.com&fid=A7127243945C2F85%2521197&token=9rpRRSxKzCoBFPYeoaxh1M7jQRmZjsRgexUeLrjJ4UyGOBTb1Qj0ldxpNjgSlG3cvP

City of Coral Spring จากมติชน

City of Coral Spring

คอลัมน์ รู้เขารู้เรา

โดย ศีล มติธรรม


Miss Christine C. Heflin

วัน
ก่อนสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เชิญไปร่วมสัมภาษณ์พิเศษ "Miss Christine
C. Heflin" เจ้าหน้าที่ประสานงานพัฒนาระบบคุณภาพองค์กร ของ City of Coral
Spring เมือง Broward มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในฐานะเป็นทีมงานบุกเบิกองค์กรแห่งนี้จนเป็นที่ยอมรับ
กระทั่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกที่พิชิตรางวัล Malcolm Baldrige
National Quality Award ปีที่แล้ว
อันเป็นรางวัลเกียรติยศของประธานาธิบดีที่มอบให้กับองค์กรในสหรัฐที่มีผลการ
ดำเนินงานยอดเยี่ยมที่สุด

City of Coral Spring มีพลเมือง 132,000
คน มีสภาเทศบาลเมืองที่มีการบริหารงานในรูปแบบ council-manager form
สภาเทศบาลเมืองประกอบไปด้วยคณะกรรมการผู้บริหาร และเทศมนตรี
ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารสูงสุด

หลักการดำเนินงานสำคัญๆ
ที่ทำให้องค์กรนี้ได้รับรางวัลดังกล่าว คือมุ่งให้ความเอาใจใส่ในตัวลูกค้า
ผู้ใช้บริการ และดำเนินงานโดยการใช้สารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน

มาดู
กันว่าที่นี่เขาทำอะไรกันบ้าง ประการแรก มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
เห็นได้จากความกระตือรือร้นในการให้บริการลูกค้า
ดังเช่นที่คุณเฮฟลีนยกตัวอย่างให้ฟัง คือ
ถ้าประชาชนโทรศัพท์มาต้องรีบรับสายทันที
พนักงานทำงานกันด้วยความรู้สึกสนุกสนาน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
เวลาพูดคุยก็มองหน้าลูกค้า

2.มอบอำนาจให้กับพนักงาน
โดยอนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าไปดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการ
ปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของคุณภาพและการบริการ

3.ความเป็นผู้นำ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดรัฐบาลท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นและใช้ต้นทุนการทำงานที่น้อยลง

4.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยให้คำมั่นสัญญากับประชาชนที่จะทำทุกอย่างดียิ่งขึ้นทุกวันและทุกวิถีทาง

มองจากสายตาคนภายนอกอาจจะเห็นว่าการดำเนินงานเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ในองค์กรจะต้องมีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วที่นี่เขาจัดการกันอย่างไร

คุณ
เฮฟลีนเล่าว่า ความจริงความคิดในการปรับปรุงองค์กรเริ่มมีมากว่า 10 ปีแล้ว
ซึ่งเกณฑ์ของ Baldrige เป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา และผู้บริหารใน City
of Coral Spring ต่างเห็นตรงกันว่า
เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเพระามีการบูรณาการ บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
ในสหรัฐก็ทำตามเกณฑ์นี้และประสบผลสำเร็จกันมามากแล้ว อย่างเช่นโมโตโรลล่า

จุด
เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงก่อนอื่นก็ต้องเลือกคนที่มีศักยภาพที่จะขยาย
แนวคิดนี้ให้กว้างออกไป สร้างแนวร่วมในทุกระดับขององค์กร
มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน และใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารที่ดี อาทิ
ทำเอกสารเผยแพร่เรื่องราวของบริษัทองค์กรต่างๆ
ที่ใช้เกณฑ์นี้แล้วประสบความสำเร็จ เพื่อตอกย้ำให้เกิดความเชื่อมั่น
และเมื่อสร้างความเข้าใจเรียบร้อยแล้วก็วางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
โดยเชิญนักวิชาการมาร่วมสัมมนาวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
ที่สำคัญต้องใช้ข้อมูลจริงมาทำแผน พร้อมกับวางเป้าหมาย
ทั้งนี้ต้องเป็นแผนในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลและปรับปรุงแผน
รวมทั้งดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประชาชนพอใจที่สุด

เป็นธรรม
ดาที่ทุกองค์กรต้องมีพวกอนุรักษนิยมที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร
คุณเฮฟลีนเธอมองว่า คนเหล่านี้ก็มีส่วนดีเหมือนกันคือเป็นคนอดทน
ซึ่งต้องอธิบายให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาพอสมควรถึงจะเห็นผล
ขณะที่ประชาชนก็มองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบฯเปล่าๆ
ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการสื่อสารให้เข้าใจ และต้องสร้างผลงานใหม่ๆ
ให้เกิดขึ้นด้วย อย่างเช่นมีโรงเรียนใหม่

หัวใจสำคัญของการทำตาม
เกณฑ์ Baldrige ให้ประสบความสำเร็จนั้น
ต้องทำงานกันเป็นทีมช่วยกันคิดช่วยกันแก้ และใช้วิธีการจูงใจ
เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด อย่างเช่น ให้เงินเดือนขึ้น ให้รางวัลต่างๆ
มีคูปอง มีการแจกเสื้อเชิ้ต จัดงานฉลอง และแจก "Applause Cards"
ซึ่งเป็นบัตรที่ให้แก่พนักงานที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานอย่าง
เต็มที่
ถือเป็นการให้รางวัลพิเศษแก่พนักงานที่ทำงานได้ดีเหนือกว่าหน้าที่ของตนเอง

วิธีการ
จูงใจเหล่านี้น่าสนใจยิ่งนัก เพราะไม่ได้ใช้งบประมาณสิ้นเปลืองอะไร
แต่เป็นการตอบแทนน้ำใจ
และให้ผู้คนในสังคมได้รับทราบถึงความดีงามของคนคนนั้น

มาว่าถึงปัญหา
โลกร้อนกันบ้าง ทาง City of Coral ใช้กลยุทธ์ต่างๆ มากมาย
และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสองชุด
ชุดแรกในระดับพนักงานเน้นความเป็นสีเขียว เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ
อย่างเช่นใช้กระดาษให้คุ้มค่าสองหน้า
ส่วนคณะกรรมการอีกชุดก็ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ

ส่วน
คำแนะนำสำหรับหน่วยงานองค์กรภาครัฐของไทย คุณเฮฟลีน ฟันธงว่า
"ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้เลย โดยจะต้องใช้ข้อมูลในการวางแผน
และต้องทำอย่างต่อเนื่องแม้จะล้มเหลวในช่วงแรกๆ ก็ตาม
เพราะข้อเสียของการใช้เกณฑ์ Baldrige
คือต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ และต้องค้นหาคำตอบเอง
โดยอาศัยศักยภาพและความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรอย่างเต็มที่ ทั้งนี้
องค์กรของไทยต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม โดยใช้ความอดทนเป็นหลัก"

เชื่อ
ว่าหลักการบริหารจัดการดีๆ แบบนี้
ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งของไทยก็คงใช้กันอยู่บ้างแล้ว
แต่อาจจะยังไม่กว้างขวางนัก ชอบใจตรงคำแนะนำของคุณเฮฟลีนที่ว่า
องค์กรไทยต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
ซึ่งคงต้องใช้เวลาปลูกฝังวัฒนธรรมในเรื่องนี้กันอีกนานพอสมควรทีเดียว

แฟลตที่พักผมครับ

Posted by ShoZu

Image003


Tทดสอบการส่งจากshozu

Posted by ShoZu

สุขภาวะทางปัญญา จากมติชน

สุขภาวะทางปัญญา

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

โดย ประเวศ วะสี http://jitwiwat.blogspot.com แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา สุขภาวะทั้ง 4 ด้าน เชื่อมโยงกันเป็นบูรณาการ เชื่อมโยงถึงกัน และอยู่ในกันและกัน แต่ละด้านมีองค์ประกอบ 4 รวมกันเป็นสุขภาวะ 4×4 = 16

การที่ว่ามีองค์ประกอบด้านละ 4 ไม่ได้แสดงว่ามีเท่านั้น แต่เป็นการพอประมาณและเพื่อให้จำได้ง่าย

ทางกาย 4 อย่างเป็นไฉน ทางกาย 4 อย่าง ประกอบด้วยร่างกายแข็งแรง ความปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย ความมีปัจจัย 4 ซึ่งมาจากการมีสัมมาชีพ

ทางจิต 4 อย่างเป็นไฉน ทางจิต 4 อย่างประกอบด้วย ความดี ความงาม หรือ สุนทรียะ ความสงบ ความมีสติ

ทางสังคม 4 อย่างเป็นไฉน ทางสังคม 4 อย่างประกอบด้วย สังคมสุสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ สังคมเข้มแข็ง สังคมยุติธรรม สังคมสันติ

ทางปัญญา 4 อย่างเป็นไฉน ทางปัญญา 4 อย่างประกอบด้วย ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน ปัญญาทำเป็น ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ปัญญาบรรลุอิสรภาพ

ปัญญาเป็นศูนย์กลาง ถ้าปราศจากปัญญา สุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมก็เป็นไปไม่ได้ การพัฒนาปัญญาต้องนำไปสู่การพัฒนากาย จิต และสังคม การพัฒนากาย จิต และสังคม ต้องนำไปสู่การพัฒนาปัญญาทั้ง 4 ร่วมกัน จึงเกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์

ในที่นี้จะขยายความเฉพาะเรื่องปัญญา 4 ประการ คือ

(1)ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน การรู้อะไรแจ่มแจ้งแทงทะลุทำให้เกิดความสุข ความมืด ความไม่รู้อะไร ความไม่แจ่มแจ้ง ทำให้เกิดความบีบคั้น เสมือนคนที่อยู่ในเหวทั้งมืดทั้งไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน จะมีความทุกข์ความบีบคั้นอย่างยิ่ง ต่อเมื่อขึ้นมาจากปากเหว มองเห็นได้ทั่วไป เกิดความสุขจากการหลุดพ้นความบีบคั้นของความไม่รู้ การมีปัญญาเห็นโดยรอบ รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ทำให้มีความสุข

คนที่รู้รอบที่เรียกว่าเป็นพหูสูต จึงมีความสงบและมีความสุขอยู่ในตัว รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ตรงข้ามกับคนที่ไม่รู้ รู้น้อย รู้เป็นส่วนๆ ไม่รู้เชื่อมโยงย่อมอยู่ในความบีบคั้น เหะหะ โวยวาย แก้ปัญหาไม่ตก หลุดไปเป็นพาลได้ง่าย

การรู้เท่าทันปัญหาแม้ยังไม่ได้แก้ปัญหา ก็ทำให้ความเป็นปัญหาหมดไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ป้าคนหนึ่งมีความทุกข์มาก เพราะแกพูดอะไรลูกสาวก็ไม่เชื่อแก เมื่อได้รับคำบอกเล่าว่าแบบนี้เป็นกันทุกบ้าน แกอุทานว่า "หรือ ฉันนึกว่าเป็นแต่ฉันคนเดียว ถ้ามันเป็นกันทุกบ้าน ฉันก็ค่อยยังชั่ว"

ที่หายทุกข์ก็เพราะมีปัญญารู้เท่าทันว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือ "ธรรมดาเนาะ" เรื่องการมีปัญญารอบรู้ รู้เท่าทัน รวมไปถึงโลกทัศน์และวิธีคิด ถ้ามีโลกทัศน์และวิธีคิดที่ถูกต้องก็ทำให้มีความสุข

การมีปัญญาเข้าใจธรรมชาติตามที่เป็นจริง เห็นความเป็นกระแสของเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) ของสรรพสิ่ง ทำให้ไม่ถูกบีบคั้นจากความเห็นผิด ว่าสิ่งต่างๆ ดำรงอยู่อย่างแยกส่วนตายตัว เมื่อเป็นอิสระจากความบีบคั้นก็ไม่ทุกข์

เมื่อเห็นอะไรเป็นกระแสของอิทัปปัจจยตา ก็จะอยู่ในกระแสแห่งปัญญา มีสุขภาวะเพราะปัญญา

(2) ปัญญาทำเป็น หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการลงมือทำและทำเป็น ในการพัฒนากาย 4 ประการ และทางจิต 4 ประการดังกล่าวข้างต้น การเรียนรู้จากการทำ และเกิดปัญญาที่ทำให้ทำได้ดี ทั้งเรื่องทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย สร้างสัมมาชีพ มีปัจจัย 4 มีจิตใจที่มีความดี ความงาม ความสงบ และความมีสติ ปัญญาในการทำเป็นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง

(3) ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน (Living together) ไม่ใช่ตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ รวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นชุมชนเข้มแข็ง และประชาสังคม มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) การที่มีความเสมอภาคและภราดรภาพจนสามารถรวมตัวร่วมคิดร่วมทำได้ จะทำให้เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพานและทำให้ทำอะไรๆ สำเร็จได้ง่าย

ตรงนี้เป็นอปริหานิยธรรมหรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียว การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมยุติธรรม ความยุติธรรมในสังคมเป็นบ่อเกิดของความสุขอย่างยิ่ง การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมสันติ สามารถแก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ขจัดความรุนแรงประเภทต่างๆ มีสันติภาพ สังคมสันติเป็นสุขภาวะทางสังคมอย่างยิ่ง บุคคลควรเรียนรู้ให้เกิดปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น

(4) ปัญญาบรรลุอิสรภาพ ความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นเครื่องก่อทุกข์ วิชชา หรือ ปัญญาเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เพราะความไม่รู้มนุษย์ยึดถือตัวตนของตนเองเป็นศูนย์กลาง จึงขัดแย้งกับความจริง ความขัดแย้งคือทุกขตาหรือความทุกข์

อาการของการเอาตัวเองเป็นใหญ่ประกอบด้วย ตัณหา อันได้แก่ความอยากเอาอยากเป็น มานะ อันได้แก่การใช้อำนาจเหนือคนอื่น ทิฏฐิ การเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บีบคั้นตนเอง และบีบคั้นผู้อื่น ยิ่งมีมากยิ่งก่อทุกข์มาก ถึงอาจก่อให้เกิดจลาจลและสงครามได้ ไม่เป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะอวิชชาจึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือความเห็นแก่ตัว

หากลดความเห็นแก่ตัวลงได้มากเท่าไร เรียกว่ามีปัญญาเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น มีอิสรภาพจากความบีบคั้นมากขึ้น

ปัญญาและอิสรภาพจึงซ้อนทับอยู่ที่เดียวกัน ผู้ที่หมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง ก็มีอิสรภาพหลุดพ้นจากความบีบคั้นโดยสิ้นเชิง มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นวิมุติสุข

มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อลดความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อบรรลุอิสรภาพ ในทางพุทธได้แก่ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นมรรควิถีที่พิสูจน์มาแล้วว่ามนุษย์จำนวนมากที่ศึกษาบนเส้นทางนี้แล้วบรรลุอิสรภาพได้จริง ตามปกติมนุษย์ไม่สามารถสัมผัสความจริงได้เพราะติดอยู่ในความคิด การมีสติรู้กายรู้ใจ ทำให้จิตสงบจากความคิด สัมผัสความจริง และถอดถอนจากความยึดมั่นในตัวตนได้

การเจริญสติจึงเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตและปัญญาอย่างยิ่งยวด

การเจริญสติทำให้เกิดสุขภาวะอันล้ำลึกอย่างไม่เคยเจอมาก่อน ขณะนี้มีผู้ฝึกเจริญสติกันมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะพบว่าทำให้ทุกอย่างดีขึ้นหมด เช่น สุขภาพดี สมองดี ความสัมพันธ์ดีขึ้น และเกิดสุขภาวะอันล้นเหลือ เป็นความสุขที่ราคาถูก (Happiness at low cost) เป็นความสุขที่ไม่ต้องการบริโภคมากขึ้น เป็นเครื่องลดบริโภคนิยมอย่างชะงัด ฉะนั้น ถ้ามนุษย์เจริญสติกันมากๆ แล้ว นอกจากจะลดความร้อนอกร้อนใจแล้ว จะช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุด

ขณะนี้มีการเรียนรู้ที่เรียกว่า จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) ด้วยวิธีการต่างๆ อันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา แต่ก็รวมอยู่ที่การเรียนรู้ที่รู้จิตของตัวเอง จิตตปัญญาศึกษาทุกประเภทเป็นไปเพื่อบรรลุอิสรภาพ

โดยสรุปสุขภาวะทางปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ทำให้รู้รอบ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง เรียนรู้ให้ทำเป็น เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้เพื่อบรรลุอิสรภาพ การเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เกิดสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา รวมกันเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ สุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากการเรียนรู้ที่ดี การเรียนรู้ที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์

จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะแสวงหาและช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดี

หน้า 9

วิธีฝึกกายใจให้ชีวิตมีความสุข จาก มติชน ไว้อ่าน

วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น ถึงแม้กาลเวลาจะหมุนเวียนไปพร้อมๆ กับวัฒนธรรมที่ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

แต่สิ่งหนึ่งที่คงรูปไม่เปลี่ยนแปลง คือ ความเป็นตัวตน (อัตลักษณ์) ของแต่ละคน (เจ้าของวัฒนธรรม) การสร้างโอกาสวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดูจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด นำสิ่งที่ไม่ดีในอดีตมาเป็นบทเรียน และสิ่งที่ดีงามเป็นอนาคตที่เราจะก้าวเดินต่อไป

คนส่วนใหญ่มักจะดิ้นรนต่อสู้ชีวิต เพื่อให้ได้สิ่งที่พึงปรารถนา เมื่อได้สมความปรารถนาก็จะมีความสุข ความสุขที่เป็นพื้นฐานของชีวิต คือความพอใจในฐานะหน้าที่ ทุกคนต่างมีฐานะหน้าที่ต่างๆ กัน และจะให้เหมือนกันก็ไม่ได้ด้วย

ชีวิตคนต้องการผลของการงาน และตำแหน่งหน้าที่เป็นประการแรก เพราะการงานและหน้าที่เป็นที่มาแห่งทรัพย์และเพื่อน การทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ย่อมมีความเหน็ดเหนื่อย และมีความตรากตรำจากการต้องใช้ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา ในท่ามกลางความร้อนหนาว และความเหน็ดเหนื่อย เพราะไม่มีงานหรือหน้าที่ใดได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อยไม่ตรากตรำ งานเบาหน้าที่น้อย ก็เหน็ดเหนื่อยน้อย งานหนักหน้าที่มาก ก็เหนื่อยมากตรากตรำมาก

การอดทนต่อความลำบาก หมายถึง การมีขวัญดี แม้จะเป็นอะไรก็ไม่ตกใจหรือหวาดกลัวง่ายๆ พร้อมเสมอที่จะต่อสู้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งอดทน ซึ่งจะนำไปสู่ความมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ ความอดทนอดกลั้น หรือความทนทานของใจ เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายศัตรูที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตเรา คือ ความเหนื่อยยากตรากตรำ ความลำบาก และความเศร้าใจ ก่อนที่จะบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ปรารถนาของชีวิต

ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนจะพบเป็นประจำทุกวัน และเกือบทุกเวลาด้วย

วิธีฝึกกายใจให้ชีวิตมีความสุข

– พยายามทำงานอย่าให้มีเวลาว่างมาก คนที่มีชีวิตอยู่อย่างเกียจคร้าน มีโอกาสเป็นโรคง่ายกว่าผู้ซึ่งทำงานอยู่เสมอ

– หัดทำใจให้ชอบคนอื่นและให้อภัยแก่ผู้อื่นเสมอ พยายามคิดว่าไม่มีใครในโลกนี้ที่เป็นผู้สมบูรณ์ทุกอย่าง

– หัดพอใจในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยอมรับมันไว้ในฐานะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ

– ลองหัดถือประโยชน์จากสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นโชคร้ายดูบ้าง เป็นการเปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย

– ถ้าเป็นปัญหายากลำบากสุดแก้ไขจริงๆ ก็ลองเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ เมื่อเราพยายามทำดีแล้วทุกอย่างยังล้มเหลวอีกก็ไม่ต้องเสียใจ คนบางคนที่มีความล้มเหลวในเรื่องเล็กน้อย อาจจะเป็นช่องทางให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า

ในวันขึ้นปีใหม่ 2551 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยร่วมกันสืบสานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ด้วยการทำบุญตักบาตร การให้ทาน การแสดงน้ำใจไมตรีให้แก่กันแทนการให้สิ่งของ หรือหากจะมอบของขวัญที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยเพื่อช่วยเศรษฐกิจของชาติอีกทางหนึ่ง

และสิ่งสำคัญดังกล่าวข้างต้นคือการปลูกฝังความสุขให้เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความสุขในวันขึ้นปีใหม่

หน้า 7

คำอวยพรแบบใหม่ จาก มติชน ไว้อ่าน

คำอวยพรแบบใหม่

โดย สมณะจันทเสฏโฐ (ท่านจันทร์)

ใครก็ไม่ทราบที่พลิกผันคำอวยพรปีใหม่ได้ดียิ่งนัก จากคำอวยพรแบบตลาดๆ ที่ว่า "แฮปปี้ นิว เยียร์" ก็กลายเป็น "แฮปปี้ นิว ยู" ทันทีที่ได้อ่านคำอวยพรแบบนี้ ก็มีคำถามต่อมาว่า "คิดได้ยังไงเนี่ย" เพราะมิใช่เป็นถ้อยคำล้อเลียนเล่นๆ หากแต่เป็นถ้อยคำธรรมะสอนใจได้อย่างลึกซึ้งและแยบยลยิ่ง

แฮปปี้ นิว เยียร์ แปลว่า ขอความสุขปีใหม่ หรือ ขอให้มีความสุขในปีใหม่ หรือ สวัสดีปีใหม่ แล้วแต่จะชอบ

แต่ถ้อยคำอวยพร แฮปปี้ นิว ยู หมายความว่า ความสุขจากการที่คุณเป็นคนใหม่ มุ่งไปสู่การกระตุ้นให้ผู้รับคำอวยพร เกิดความสำนึกที่จะทบทวนตนเองว่า ในปีใหม่ที่จะถึงนี้ เราแต่ละคนได้ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองได้มากน้อยแค่ไหน มีความเป็นคนใหม่ได้มากน้อยเพียงใด นับได้ว่าเป็นคำอวยพรสอนใจโดยทั่วไปคนส่วนมากก็จะถือช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ มักมีการตั้งจิตอธิษฐานเป็นกรณีพิเศษเพื่อ "ละสิ่งผิด เริ่มสิ่งถูก ปลูกสิ่งดี"

บางคนตั้งใจเลิกอบายมุขช่วงปีใหม่ เช่นงดการดื่มเหล้า งดการสูบบุหรี่ งดเล่นการพนัน งดเที่ยวเตร่กลางค่ำกลางคืน

บางคนตั้งใจจะเขียนบันทึกประจำวันให้ได้ทุกวันตั้งแต่ปีใหม่ไปจนถึงวันสิ้นปี เพื่อให้เกิดการสำรวจตรวจตราตนเองในแต่ละวันของชีวิต

บางคนตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือให้ได้อย่างน้อยวันละ 29 หน้า

บางคนตั้งใจว่าจะฟังธรรมะหรืออ่านหนังสือธรรมะก่อนนอนทุกคืน

บางคนตั้งใจว่าจะเขียนบันทึกการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์มิให้หายหกตกหล่น

บางคนตั้งใจว่าจะรับประทานอาหารมังสวิรัติ

บางคนตั้งใจว่าจะลดมื้ออาหารจากสามมื้อเหลือสองมื้อ จากสองมื้อเหลือมื้อเดียว

บางคนตั้งใจว่าจะไม่แสดงออกซึ่งความโกรธทางกายและทางวาจา ถ้าเผลอแสดงออกหนึ่งครั้งก็จะปรับตนเองเป็นเงินตามจำนวนที่กำหนดแล้วนำเงินนั้นไปทำบุญอะไรที่ไหนก็ได้

ทั้งหมดทั้งสิ้นที่เป็นสัจจะอธิษฐานล้วนเป็นไปเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนให้มีการพัฒนา เปลี่ยนจากคนเก่าเป็นคนใหม่ เปลี่ยนตัวหนอนน่าเกลียดให้เป็นผีเสื้อที่น่ารัก เปลี่ยนน้ำเน่าข้างถนนให้กลายเป็นเมฆฝนบนฟากฟ้าและตกลงมาเป็นน้ำฝนที่ใสสะอาดบริสุทธิ์

เปลี่ยนจอมโจรองคุลีมาลเป็นพระอรหันต์นั่นเทียว

น้ำขุ่นที่ไหล ดีกว่าน้ำใสที่นิ่ง

คนไม่ดีแต่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่เสมอ ดีกว่าคนดีที่ไม่ยอมพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม มัวแต่หลงจมปลักดักดานอยู่กับความดีอย่างเดิมแบบดูดายและโดดเดี่ยว

โดยจริงคนเราทุกคนก็ต้องมีการพัฒนาตนให้เป็นคนใหม่อยู่เสมอ ม้า ถ้าไม่วิ่งก็ไม่ใช่ม้า คน ถ้าไม่ก้าวหน้าก็ไม่ใช่คน

การทำตนให้เป็นคนใหม่ในทางที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นในช่วงปีใหม่ หรือในช่วงเวลาพิเศษใดๆ ก็ตาม ย่อมช่วยให้คนผู้นั้นมีความรู้สึกใหม่ๆ ในชีวิต ไม่ทำให้ตนเองเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายตนเอง แต่จะมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาแห่งการพัฒนาตน

ความสุขที่ได้จากการพัฒนาตนเป็นคนใหม่ ย่อมจะต้องผ่านกระบวนการฝึกหัดขัดเกลาตนควบคู่ไปด้วย

ทั้งนี้ คนผู้นั้นจะต้องมีความสำนึกอยู่เสมอว่าตนเองยังต้องพัฒนาอยู่เสมอ ยังมีอะไรที่เป็นความบกพร่องต้องแก้ไขอยู่ทุกวันทุกคืน โดยการหมั่นพิจารณาตนด้วยตนเอง หรือการฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นโดยเฉพาะคนรอบข้าง

ดังมีผู้กล่าวว่า "คนรอบคอบ เพราะรู้จักฟัง คนรอบข้าง"

หน้า 7

นักเรียนรุ่น ศกว.-เขาใหญ่ นัดพบปะสังสรร ที่ ระเบียงน้ำ ศรีสะเกษ

วันที่ 24 ธันวาคม 2550 อดีตนักเรียนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ได้นัดพบปะสังสรร รับประทานอาหารเที่ยงกันที่ร้านระเบียงน้ำ ทางออกจากเมืองไปกันทรลักษ์(บ้านกุดโง้ง)
ประกอบด้วย นิด ตึ๋ง หนุ่ย แชลลี้ หน่อย ผม(โอ๊ต) ตุ๋ย โอเดี้ยน รุ่งทิพย์ ปึ๊ด(ศิริวรรณ) แก้ว อุดม และอีกหลายคน ซึ่งเขาขนานนามตัวเองว่ารุ่นเขาใหญ่ ก็ได้นัดคุยกัน แจ้งข่าวถึงวันคืนสู่เหย้า ศกว ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550
ขอให้เพื่อนทุกคนมากันเยอะ เพื่อสร้างเสริมมิตรภาพเก่าๆให้คืนกลับมา และให้ส่งข่าวกระจายข่าวถึงเพื่อนทุกๆคน กับต่อไปเราจะจัดกิจกรรมรวมรุ่นให้หลากหลายยิ่งขึ้น
หวังว่าเพื่อนๆรุ่นเราทุกคน จะได้กลับมาทำกิจกรรมสร้างเสริมมิตรภาพและเพื่อสิ่งดีๆกันตอนแก่อีกครั้งหนึ่งอย่างเหนียวแน่นและต่อเนื่อง…..ยิ้มแฉ่งDSC00255DSC00255DSC00257DSC00257DSC00257DSC00265DSC00265DSC00267

ไปสันนิบาตที่สกลนครมา

เจอพี่ สหายเก่า หลังสงครามเย็น(ยี่สิบปีที่แล้ว)
คิดถึงกันมาก เลยตำจอกกันเสียหน่อย ไม่กี่แบนหรอก

Next Newer Entries