หลักราชการ

               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์  หลักราชการ  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการที่สำคัญยิ่งสำหรับข้าราชการพึงยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติราชการ  ๑๐  ประการ  มีใจความสำคัญสรุปได้  ดังนี้

               . ความสามารถ  หมายถึง  ความชำนาญในการปฏิบัติงานในด้านต่าง   ให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้มีโอกาสเท่า กัน

               . ความเพียร  หมายถึง  ความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความลำบาก  และบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้  โดยใช้ความวิริยภาพมิได้ลดหย่อน

               . ความมีไหวพริบ  หมายถึง  รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่า  เมื่อมีเหตุเช่นนั้นจะต้องปฏิบัติการอย่างนั้น  เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป  และรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลัน

               . ความรู้เท่าถึงการณ์  หมายถึง  รู้จักปฏิบัติการอย่างไรจึงจะเหมาะสมแก่เวลา  และอย่างไรที่ได้รับเหตุสมผลจึงจะเป็นประโยชน์ที่สุด

               . ความซื่อตรงต่อหน้าที่  หมายถึง  ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

               . ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป  หมายถึง  ให้ประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป  รักษาตนให้เป็นคนที่เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้

               . ความรู้จักนิสัยคน  ข้อนี้เป็นของสำคัญสำหรับผู้มีหน้าที่ติดต่อกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย

               . ความรู้จักผ่อนผัน  หมายความว่า  ต้องเป็นผู้ที่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวว่า  เมื่อใดควรตัดขาดและเมื่อใดควรอ่อนหรือผ่อนผันกันได้  มิใช่แต่จะยึดถือหลักเกณฑ์หรือระเบียบอย่างเดียว  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียควรจะยืดหยุ่นได้

               . ความมีหลักฐาน  ข้อนี้ประกอบด้วยหลักสำคัญ    ประการ  คือ  มีบ้านอยู่เป็นที่เป็นทาง  มีครอบครัวอันมั่นคง  และตั้งตนไว้ในที่ชอบ

               ๑๐.  ความจงรักภักดี  หมายความว่า  ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์แห่งชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์


ใส่ความเห็น